วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ร้านขนมไทยแนะนำ

 (●*∩_∩*●) วันนี้...หมูน้อย มีร้านขนมไทยมาแนะนำค๊า !!

ร้านขนมบ้านขวัญ



ร้านขนมบ้านขวัญ  กรุงเทพฯ


• ต้นถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ก่อนซอย 1)
• 10 เมตรจากแยกนราธิวาสฯ ตัดถนนสุรวงศ์
โทรศัพท์.02-234-5841, 089-204-4549
Website:www.kanombaankwan.com
Email:kanombaankwan@gmail.com
เปิดบริการ9.00 - 18.30 น.



บ้านขนมสวย
ที่อยู่ :  บ้านเลขที่ 57 ถนน พัฒนาการ ซอย 65 เขตประเวศ กรุงเทพ 10250
           ( เลี้ยวซ้ายซอยหลัง โรงแรม Sun Pavillion )
ติดต่อบ้านขนมสวย   02-722-4265,   02-322-8158,   085-836-7980 


สูตรขนมหวานไทย

วันนี้...หมูน้อยมีสูตรทำข้าวเหนียวมะม่วง มาฝากค่ะ
ข้าวเหนียวมะม่วง
เครื่่องปรุง/ส่วนผสม

* มะม่วงสุก 3 ลูก
* ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
* หัวกะทิ 450 กรัม
* เกลือป่น 3/4 ช้อนชา
* น้ำตาลทราย 550 กรัม
* ใบเตย 3-5 ใบ
* ถั่วทอง 5 ช้อนโต๊ะ
* หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำราด)
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา (สำหรับทำน้ำราด)

ขั้นตอนและวิธีการทำ "ข้าวเหนียวมะม่วง"

1. นำข้าวเหนียวไปล้างและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ
2. นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าวเหนียวสุก
3. ในหม้อขนาดเล็ก ใส่น้ำตาล, เกลือป่น (3/4 ช้อนชา) และหัวกะทิ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ
4. ในชามขนาดกลาง ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที
5. ในระหว่างที่รอ เตรียมทำน้ำกะทิราดหน้าโดย ผสมหัวกะทิ (2 ถ้วยตวง) และเกลือป่น (1/4 ช้อนชา) ลงในหม้อขนาดเล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนเกลือละลายทั่ว จึงปิดไฟ
6. ปอกมะม่วงและจัดใส่จาน เวลาเสริฟ ตักข้าวเหนียวใส่จานจากนั้นโรยหน้าด้วยน้ำราดกะทิและถั่วทอง ควรเสริฟทันทีหลังจากปอกมะม่วงเสร็จใหม่ๆ

วันนี้...หมูน้อยมีวิธีการทำข้าวเหนียวมูลมาฝากค่ะ สูตรเด๊ด!!


ขนมไทยหายาก(ต่อ)

{{{(>_<)}}}  ขนมไทยหายาก !!
หันตรา
               หันตรา หรือขนมฝอย เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในงานหมั้น ซึ่งแสดงถึงการตีตราจองว่าหญิงนั้นมีคู่หมั้นแล้ว 
               ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือก ที่นำมากวนกับน้ำตาลทราย แล้ว ปั้นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ กดตรงกลางให้บุ๋มแล้วมาห่อด้วยไข่ที่ทำเป็นตาราง 
               ขนมชนิดนี้เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่มีหน้าตาน่ารับประทาน เนื่องด้วยตัวของไส้ขนมและตัวไข่ที่นำมาหุ้มมีสีเหลืองทองที่เข้ากันอย่างเหมาะเจาะ แลดูคล้ายขนมตระกูลทอง 
เกสรชมพู่
               เกสรชมพู่  ขนมไทยโบราณ เมื่อได้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่าขนมชนิดนี้คือ "ข้าวเหนียวแก้ว" แต่ถ้าพิศมองให้ดีจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะแข็งกระด้างของข้าวเหนียว ส่วนเกสรชมพู่จะดูนุ่มนวล อ่อนโยน ที่ทำจากมะพร้าวขูดขาว ผัดกับน้ำและน้ำตาลทราย ใส่วุ้นกวนให้เข้ากันใส่สีชมพูแก่ แล้วตักใส่ถ้วย เรื่องรสชาติเกสรชมพู่จะมีความมัน ความหอมของมะพร้าว และมีความหวานเป็นเอกลักษณ์
เห็ดโคน
                สำหรับคนชอบกินเห็ดอาจจะเข้าใจผิดก็ได้เมื่อได้เห็นขนมชนิดนี้ เพราะคุณจะแยกไม่ออกว่าอันไหนเห็ดจริงอันไหนคือขนมเห็ด ส่วนเรื่องรสชาติจะออกหวานๆ เมื่อนำเข้าไปสัมผัสกับลิ้นแล้ว แทบจะละลายไปทันที

                เห็ดโคน  ทำจากไข่ขาวตีกับน้ำตาลทรายป่นจนตั้งยอด ใส่น้ำมะนาวเพื่อให้ไข่ไม่เหลว นำกระดาษขาวหนา ๆ มาม้วนเป็นกรวย ใส่น้ำตาลที่ตีแล้ว บีบกลม ๆ เป็นหัวเห็ด แล้วบีบยาว ๆ เป็นก้านเห็ด นำไปอบ พอสุกแล้วนำส่วนหัวมาเจาะตรงกลาง เพื่อติดกับตัวก้านเห็ดโดยใช้น้ำเชื่อม นำผงโกโก้ มาร่อนตระแกรงละเลงโรยบนหัวเห็ด
บุหลันดั้นเมฆ
                บุหลันดั้นเมฆ ลักษณะของขนมจะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ เป็นขนมชาววังคิดประดิษฐ์ขึ้น ให้มีสีสันอุปมาอุปไมยเลียนแบบเพลงไทย 'บุหลันลอยเลื่อน' ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
               มี 2 ส่วน คือ ส่วนตัวขนม ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำดอกอัญชัน น้ำตาลทราย หยอดลงบนถ้วยตะไล เมื่อนำไปนึ่งตรงกลางจะบุ๋มลงไป ส่วนตัวหน้าขนม ประกอบด้วย ไข่ กะทิ น้ำตาลมะพร้าว และนำไปนึ่งต่อจนสุก
               เมื่อรับประทานจะให้ความรู้สึกถึงความหอมหวานของน้ำดอกอัญชันกับกลิ่นน้ำตาลมะพร้าว
ขนมตะลุ่ม
                  ขนมตะลุ่ม  มีสองส่วน คือส่วนตัวขนม ทำแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใส และหางกะทิ นำไปนึ่งจนสุก ส่วนของตัวหน้า ได้แก่ หัวกะทิ ไข่ และน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทลงบนตัวที่สุกแล้ว นำไปนึ่ง เวลาเสิร์ฟตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดพอดีคำหรือลักษณะตามชอบ เวลาจะรับประทานควรรับประทานพร้อมกันเพราะให้รสชาติที่หวาน มัน และมีกลิ่นหอมของกะทิยามรับประทานในคำเดียวกัน

ที่มา http://www.horapa.com/content.php?Category=Dessert&No=909

ขนมไทยหายาก

(●*∩_∩*●)  วันนี้...หมูน้อยก็จะมาแนะนำขนมไทย ที่ในปัจจุบันนี้หารับประทานกันยากมาก ก ก ค่ะ....


ขนมเทียนแก้ว
             ขนมเทียนแก้ว หรือ ขนมนมสาว เปรียบเสมือนแสงสว่าง   ลักษณะที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ำตาลทราย อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นำแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ำตาลทราย และน้ำลอยดอกมะลิ 
             ขนมชนิดนี้จะให้กลิ่นหอมสดชื่นน่ากินของควันเทียนและน้ำลอยดอกมะลิที่อบอวลอยู่ในเนื้อขนม
ขนมพระพาย
                     ขนมพระพาย เป็นขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงานใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำดอกมะลิ ใส่สีต่างๆ เพื่อหุ้มไส้ ที่ประกอบด้วยถั่วเขียวเลาะเปลือกที่บดละเอียด ผสมกับกะทิ และน้ำตาล ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เมื่อหุ้มเสร็จแล้ว นำมาวางบนใบตองที่ตัดเป็นกลม ๆเมื่อนึ่งสุกแล้ว พรมด้วยหัวกะทิ       

                     เมื่อดูจากลักษณะภายนอกอาจจะดูคล้าย ขนมช็อกโกแลตชนิดหนึ่งที่กลมๆ เงาๆมันๆ น่ากัด น่ากิน 
ข้าวพันตอง
                 ข้าวพันตอง แบ่งเป็น 2 ส่วน แยกเป็น 2 ห่อ ห่อแรกคือส่วนผสมของไส้ ประกอบด้วยมะพร้าวกับน้ำตาลปี๊บ แล้วนำมาปั้นเป็นก้อน อีกห่อประกอบด้วย หัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือ น้ำตาล แล้วตักใส่ห่อ เพื่อความอร่อยยิ่งขึ้นควรจะรับประทานพร้อมกัน เพราะตัวแป้งและตัวไส้จะอร่อยกลมกล่อมอย่างลงตัว  
ขนมหม้อตาล
           ขนมหม้อตาล เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในพิธีแต่งงาน เรียกว่า "หม้อเงิน หม้อทอง" 

  - ตัวถ้วยขนม ผสมแป้งสาลี น้ำเย็น ไข่แดง กรุแป้งในพิมพ์หม้อตาล อบให้สุก

  -ไส้ ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำเคี่ยวให้ข้น ตักใส่ถ้วย หยดสีตามต้องการ หยอดลงในพิมพ์ ให้น้ำตาลแห้ง
             ดูจากลักษณะภายนอกดูกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก หลากสีสันชวนน้ำลายสอ เมื่อลองลิ้มชิมรสเนื้อแป้งของขนมที่กรอบจะเข้ากันดีกับตัวน้ำตาลที่หวานกำลังดี 
ขนมโพรงแสม
                 ขนมโพรงแสม  ขนมชนิดนี้ใช้ในพิธีแต่งงาน โดยแทนเสาบ้านเสาเรือน เพื่อให้คู่บ่าวสาวอยู่กันยั่งยืนและร่ำรวย ลักษณะคล้ายๆขนมทองม้วน แต่ขนมชนิดนี้จะมีความแตกต่างอยู่ตรงที่มีน้ำตาลเคลือบพันร้อยอยู่ที่ตัวขนม     

                   เมื่อตัวขนมได้ถูกบดขยี้กับฟันและลิ้นที่สัมผัสรส จะให้ความรู้สึกกรุบกรอบน่ากัดกิน ผสมกับความหวานของน้ำตาลที่เคลือบขนมอย่างลงตัวไม่ที่ไม่หวานมากนัก ก็ยิ่งทำให้ขนมชนิดนี้เหมาะสำหรับการกินเล่น กับน้ำชาตอนบ่าย
ขนมสามเกลอ
                      ขนมสามเกลอ  เป็นขนมเสี่ยงทายในพิธีแต่งงาน ถ้าขนมยังติดกันทั้ง 3 ลูกในขณะที่ทอด หมายความว่า คู่บ่าวสาวที่จะแต่งงานจะอยู่ด้วยกันดี ตลอดจนมีลูกด้วยกัน แต่ติดกันอยู่เพียง 2 ลูก หมายความว่า มีลูกยากหรือไม่มี ถ้าแยกหรือหลุดออกทั้ง 3 ลูก หมายความว่า อยู่ด้วยกันไม่ยืด       

                        ขนมชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไส้ที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าว มะพร้าวขูด และงา แล้วเอามาหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนที่สอง ทำจากไข่ไก่ (อาจจะใส่สีผสมอาหารด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงาม) ที่นำมาโรยบนกระทะเป็นแผ่นบางๆ เพื่อนำมาห่อตัวขนม





ความหมายของขนมไทย(ต่อ)

(◡‿◡❀)  ครั้งที่แล้วเราได้ความหมายของขนมไปหลายชนิดแล้วนะคะ วันนี้..หมูน้อยก็จะมาบอกความหมายของขนมที่มีความสำคัญไม่แพ้ขนมชนิดต่างๆที่ผ่านมาเลยค่ะ......


ขนมทองเอก
ทองเอก คือ ของขวัญในการฉลองการเลื่อนยศ เพราะเป็น ขนมไทย ในตระกูลทองอีกชนิดหนึ่ง ที่ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างยิ่งในทุกขั้นตอนการทำ มีลักษณะที่สง่างาม โดดเด่นกว่า ขนมตระกูลทอง ชนิดอื่น ๆ ตรงที่มี ทองคำเปลว ติดไว้ที่ด้านบนของขนม คำว่า "เอก" หมายความถึง การเป็นที่หนึ่ง การใช้ ขนมทองเอก ประกอบพิธีมงคลสำคัญต่าง ๆ หรือใช้มอบเป็นของขวัญในงานฉลองการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง จึงเปรียบเสมือนคำอวยพรให้เป็นที่หนึ่ง
ขนมฝอยทอง
ฝอยทอง หมายถึงชีวิตคู่ที่ยืนยาว เพราะเป็น ขนมมงคล ในตระกูลทอง ที่มีลักษณะเป็นเส้น นิยมใช้กันในงานมงคลสมรส ถือเคล็ดกันว่าห้ามตัดขนมให้สั้น ต้องปล่อยให้เป็นเส้นยาว ๆ เพื่อที่คู่บ่าวสาวจะได้ครองชีวิตคู่ และรักกันได้อย่างยืนยาวตลอดไป


ขนมทองหยอด
ทองหยอด หมายถึงความร่ำรวยที่ใช้จ่ายไม่มีหมด เพราะใช้ประกอบในพิธีมงคลต่าง ๆ หรือมอบเป็น ของขวัญในโอกาสสำคัญ ๆ แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพรัก หรือญาติสนิทมิตรสหาย แทนคำอวยพรให้ร่ำรวยมีเงินมีทองใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้น ประดุจให้ทองคำแก่กัน
ขนมทองหยิบ
ทองหยิบ หมายถึง หยิบจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง เพราะ ขนมมงคล ชนิดหนึ่งมีลักษณะงดงามคล้าย ดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถันเป็นอย่างมากในการประดิษฐ์ปร ะดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ และชื่อ ขนมทองหยิบ เป็นชื่อ สิริมงคล เชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบพิธีมงคล ต่าง ๆ หรือให้เป็นของขวัญแก่ใครแล้ว จะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับการงาน สิ่งใดก็จะ ร่ำรวย มีเงินมีทอง สมดังชื่อ ทองหยิบ


ขนมเม็ดขนุน
ขนมเม็ดขนุน หมายถึง มีคนสนับสนุนไม่ขาด เพราะเป็นหนึ่งใน ขนมไทย ตระกูลทองเช่นกัน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับ เม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด มีความเชื่อกันว่า ชื่อของ ขนมเม็ดขนุน จะเป็นสิริมงคล ช่วยให้มีคนสนับสนุนหนุน เนื่องในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงาน หรือกิจการต่าง ๆ ที่ได้กระทำอยู่








ที่มา http://www.theweddinghome.com/forum/forum_posts.asp?TID=2118&PN=47&Tsub=&get=last



ความหมายของขนมไทย


ขนมกง

วันนี้...มารู้จักกับความหมายของขนมไทยกันนะคะ

ขนมกง  ขนมชนิดนี้เชื่อกันว่าไม่มีรอยต่อเปรียบได้กับความรักของหนุ่มส าวที่จะมีต่อกันไม่รู้จบ ขนมกงหรือขนมกงเกวียน ซึ่งหมายถึงกงเกวียนที่หมุนไปข้างหน้าเช่นเดียวกับพระธรรมจักร ความหมายที่ต้องการสื่อถึงงานแต่งงานก็คือ ต้องการให้คู่บ่าวสาวรักและครองคู่อยู่ด้วยกันชั่วนิจนิรันดร์ 

ขนมฝักบัว


ขนมฝักบัว ขนมฝักบัวที่ตรงกลางของขนมจะพองฟูขึ้นมา เหมือนบัวที่โตขึ้นมาโดยไม่ต้องดูแล ไม่มีอุปสรรค เหมือนความรักที่ราบรื่น ไร้ซึ่งอุปสรรคใดๆ หรือหมายถึงความสูงส่งในชีวิตสมรส นั้นเอง (อันนี้เคยทานค่ะ  อร่อยมากๆ)





ขนมจ่ามงกุฎ หมายถึง มีเกียรติยศที่สูงส่ง เพราะเป็น ขนมไทย ที่ทำยากมี ขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริง ๆ คำว่า จ่ามงกุฎ หมายถึง การเป็นหัวหน้าสูงสุด แสดงถึงความมี เกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในงานแต่งงาน งานเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ถือเป็นการแสดงความยินดี และอวยพรให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานยิ่ง ๆ ขึ้นไป


ขนมเสน่ห์จันทร์


ขนมเสน่ห์จันทน์ หมายถึง มีเสน่ห์ มีผู้คนรักใคร่ เพราะ "จันทน์" เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีผลสุก สีเหลืองเปล่งปลั่ง ทั้งสวยงามและมีกลิ่นหอม ชวนให้หลงใหล  





 

ที่มา http://www.theweddinghome.com/forum/forum_posts.asp?TID=2118&PN=47&Tsub=&get=last

ขนมที่นิยมใช้ในงานมงคลสมรส


            ถ้าเป็นงานมงคลสมรสมักจะทำขนมหวานให้ครบ 9 สิ่งขนมที่ใช้ในงานมงคลสมรสตามประเพณี  ทางฝ่ายเจ้าสาวจะต้องเป็นผู้จัด และขนมที่นิยมจัด คือ          
1. ฝอยทองหรือทองหยิบ           
2. ขนมชั้น           
3. ขนมถ้วยฟู           
4. ขนมทองเอก           
5. ขนมหม้อแกง          
6. พุทราจีนเชื่อม          
7. ข้าวเหนียวแก้วหรือวุ้นหน้าสีต่าง ๆ
8. ขนมดอกลำดวน          
9. ผลไม้ต่าง ๆ ลอยแก้ว
      
 แต่ตามความเชื่อบางอย่างของคนไทย ขนมที่มีลักษณะเป็นเส้น มักจะใช้สำหรับงานทำบุญอายุ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้มีอายุยืนยาว  แต่กลับไม่ใช้จัดในงานศพ เพราะเชื่อว่าจะมีการตายต่อเนื่องไม่เป็นมงคล  ความเชื่อเหล่านี้ถือเป็นเหตุผลของแต่ละบุคคลมิได้เป็นข้อห้ามเสียทีเดียว
สละลอยแก้ว


ข้าวเหนียวแก้ว



ประวัติขนมไทย

วันนี้หมูน้อยจะพามารูจักกับประวัติขนมไทยนะคะ  ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไป ประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง  นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ  งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย  ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง   ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด   ตลอดจนลักษณะที่
กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ
 ขนมไทย   เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี  เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ   ตั้งแต่วัตถุดิบ  วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน    ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม   รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน   ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ







ที่มา http://kanomthai.exteen.com/page